• 2,145

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการ สธ.โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษออกประกาศไว้

ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2561(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2562

ข้อ 2 ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (1) กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ก) เปลือก ลำตัน เส้นใย กิ่งก้าน และราก (ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย (ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetahydrocannabino, THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก (ง) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabingl, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก (2) กัญชง (hemp) พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannobis satio L) และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชง เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก (ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย (ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิโดออล (cannabidio, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabind, THO ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก (ง) เมล็ดกัญชง (hemp seed) น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed Oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (hemp seed extract) (จ) กากหรือเศษที่เหลือจกการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก (3) พืชกระท่อม พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Mitogyna speciosa (Korth.) Havl. และวัตถุหรือสารต่างๆ ที่มีอยู่ในพืชกระท่อม เช่น แอลคาลอยด์ (4) พืชฝิ่น พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Popaxersomy/erum L และ Papover broxteotum Lind หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้ฝิ่น หรือแอลคาลอยด์ของฝิ่น (5) เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis (Earle) Singer หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้สาร psiocybin หรือ psilocin การนำเข้าวัตถุหรือสารตามวรรคหนึ่ง (3) (ก) (ข) (ค) และ (ง) และ (2) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ให้นำเข้าตามกฏหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งของกัญชาและกัญชง

ข้อ 3 กรณียาเสพติดให้โทษตามข้อ 2 ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือแพทย์นั้น ให้ยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 และ ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ขอบคุณภาพจาก : matichon online

ทั้งนี้ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า หลังจากรัฐมนตรีว่าการ สธ. ได้ลงนามในประกาศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ในวันที่ 16 ธันวาคมนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะนำประกาศกระทรวงฯ ฉบับดังกล่าวส่งไปยังเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในวันถัดไป

“เมื่อลงเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลบังคับใช้ในวันรุ่งขึ้น หรือในวันที่ 17 ธันวาคม โดยในวันเดียวกันนี้ อย.จะนำความตามประกาศราชกิจจานุเบกษาแถลงข่าวเพื่อให้ประชาชนรับทราบเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน”

ภญ.สุภัทรา กล่าว

รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า สำหรับสาระสำคัญในประกาศฉบับนี้ จะระบุว่ายาเสพติดใดที่เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และมีสิ่งใดที่ยกเว้น โดยประกาศกระทรวงฉบับนี้ กัญชาและกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพียงแต่ส่วนประกอบบางอย่าง เช่น ส่วนของพืชกัญชา กัญชง ได้แก่ กิ่ง ก้าน ราก ลำต้น เปลือก และใบที่ไม่รวมช่อดอก และสารสกัดที่ได้จากพืชกัญชา กัญชง ในปริมาณสารทีเอชซี (THC) ต่ำ ถูกยกเว้นจากการเป็นสารเสพติดให้โทษประเภท 5

“ตอนที่มีการขออนุญาตปลูกกัญชา กัญชง ยังคงเป็นสารเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่ แต่เมื่อปลูกไปแล้ว บางส่วนของพืชที่มีสารทีเอชซีต่ำ ไม่เป็นโทษต่อร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจากเดิมที่การขออนุญาตปลูก เพื่อนำช่อดอกไปทำยา แต่ทุกส่วนยังเป็นยาเสพติดหมด ก็จะต้องนำไปทำลายทิ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ดังนั้นในประกาศฉบับนี้จึงระบุว่า ส่วนประกอบของพืชที่ไม่เป็นสารเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทำลาย”

ภญ.สุภัทรา กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า ในการขออนุญาตปลูกกับทาง อย.เริ่มต้นผู้ขออนุญาตจะต้องแจ้งว่าจะนำส่วนประกอบของพืชกัญชา กัญชง ไปใช้ในรูปแบบใด และจะไปขายให้กับใคร โดยจะต้องมีการทำรายงานที่ชัดเจนแจ้งมาทาง อย. และผู้ที่จะรับส่วนประกอบนั้นๆ ไปจะต้องรับมาจากผู้ที่ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายที่กำลังดำเนินการในปัจจุบันส่งเสริมในการใช้ทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง ที่ไม่เป็นยาเสพติด แต่จะต้องได้มาจากแหล่งที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น

“หากบุคคลที่มีส่วนประกอบของพืชกัญชา กัญชง อยู่ในครอบครอง แต่ไม่สามารถระบุที่มาได้ว่ามาจากแหล่งอนุญาตที่ถูกต้องหรือไม่ จะถือว่าเป็นการครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 อยู่ อาจจะเป็นเพื่อการจำหน่ายหรือเสพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่เจอ ดังนั้น สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ประชาชนทั่วไปจะต้องนำชิ้นส่วนจากกัญชา กัญชง มาจากแหล่งที่ได้รับอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น”

รองเลขาธิการ อย.กล่าว





Reference
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2479379




Cann Society - Thailand