- Cann Society News
-
by ADMIN BKK
วันนี้ (24 กันยาย 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุ (สธ.) นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ สธ. เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยวิชาการ วิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร ในการวิจัยและพัฒนามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia, THP) สำหรับพืชกัญชา พืชเสพติดและพืชสมุนไพรอื่นๆ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการรักษาผู้ป่วยที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย
นพ.สำเริง กล่าวว่า การพัฒนายาจากกัญชาและพืชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นนโยบายของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่การ สธ. เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความมั่นคงทางด้านยา การนำผลิตภัณฑ์กัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ทั้งในแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย วัตถุดิบกัญชา และผลิตภัณฑ์กัญชาทุกชนิด จำเป็นต้องคุณภาพดีมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นพ.โอภาส การยักวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยศาสตร์ฯ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เป็นการบูรณาการด้านวิชาการ การวิจัย และพัฒนา โดยทั้งสองหน่วยงานจะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านมาตรฐานยา ยาสมุนไพรไทยและเทคโนโลยีเชิงเกษตรกรรม (AgriTech) สำหรับสมุนไพรที่มุ่งเน้นพืชกัญชาและ พืชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ตลอดจนพืชสมุนไพรอื่นๆ แบบครบวงจร รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่สามารถนำเข้าสู่มิติใหม่ของการสร้างและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
นวัตกรม และมาตรฐานยาสมุนไพรไทย โดยมีการจัดระบบฐานข้อมูล (Database) และการจัดทำข้อมูลเฉพาะเรื่องกัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis Monograph) ซึ่งรวมถึงพีชเสพติดที่มีประโยชน์ทางการแพทย์และพืชสมุนไพรอื่นด้วย
“ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์ฯ โดย สำนักยาและวัตถุสพติด ได้มีการจัดทำตำรายาของประเทศไทย ฉบับเพิ่มเติมปี 2020 (Thai Pharmacopoeia II Volume I Part 1 Supplement 2020) ขึ้นมาเพื่อ ใช้อ้างอิงตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย ข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์กัญชา จำนวน 2 มอโนกราฟ ได้แก่ สารสกัดกัญชา (Cannabis Extract) และน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น (Cannabis Sublingual Drops) โดยข้อกำหนด
มาตรฐานดังกล่าว ได้จากการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจเอกลักษณ์และวิธีวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ ทั้งสาร Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) รวมทั้งการปนเปื้อนจากสารกำจัดศัตรูพืช โลหะหนัก หรือเชื้อรา และปริมาณการตกค้างของตัวทำละลายที่ใช้สกัด (residual solvent) อีกทั้งยังมีข้อมูลด้านความปลอดภัย เช่น ข้อห้ามใช้ อาการข้างเคียงของยา รวมทั้งภาคผนวกที่เกี่ยวข้องจำนวน 42 เรื่อง ผู้ที่
สนใจสามารถดาวน์โหลดตำรายาผ่านช่องทาง Mobile Application ชื่อว่า “Thai Pharmacopoeia” หรือทางเว็บไซต์สำนักยาและวัตถุเสพติด https://bdn.go.th/tp/#home” นพ. โอภาส กล่าว
Reference
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2364427