• 1,325

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ จัดงานตอกย้ำความสำเร็จอีกขั้น กับการต่อยอดอย่างมุ่งมั่นมาต่อเนื่องในด้านกัญชาเพื่อการแพทย์ กับงาน  “ก้าวกระโดด บุรีรัมย์โมเดล กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ” ตลอดระยะเวลา 1 ปีกับการส่งเสริมและพัฒนา สนับสนุน ร่วมกับโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาล 1 ใน 3 ของประเทศที่ได้รับอนุญาตในการผลิตยากัญชาเพื่อการแพทย์ จับมือร่วมกันสู่ความสำเร็จและต่อยอด และผลักดันความเป็นต้นแบบ กัญชาเพื่อการแพทย์ ต่อยอดสู่การยกระดับกัญชากัญชงพืชเศรษฐกิจ พร้อมความเป็นศูนย์กลางเมืองหลวงของกัญชา และก้าวสู่ความเป็น Cannabis Medical Hub ศูนย์กลางกัญชาเพื่อการแพทย์ของประเทศ

ขอบคุณภาพจาก : mgronline.com

นายแพทย์ภุชงค์ ไชยชิน รองนายแพทย์สาธารณสุขในจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์มีบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ครบทั้ง 23 แห่งโรงพยาบาลในจังหวัดแล้วนั้น จ.บุรีรัมย์ ยังมีโรงพยาบาลที่สามารถผลิตยากัญชาทางการแพทย์ได้เป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ มีวิสาหกิจชุมชนที่สามารถปลูกเป็นแห่งแรกของประเทศ ซึ่งการ ขับเคลื่อนและการต่อยอดจากต้นแบบ บุรีรัมย์โมเดล ถือเป็นความสำเร็จก้าวแรกร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลคูเมือง และวิสาหกิจเพลาเพลินเพื่อชุมชน ที่สามารถปลูก ผลิต และนำกัญชาไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งในวันนี้ โรงพยาบาลคูเมือง ส่งมอบยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้น CBD จำนวน200 ขวด ให้กับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อกระจายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ นำไปรักษาผู้ป่วยต่อไป

ก้าวต่อมา โรงพยาบาลคูเมืองและวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน ร่วมกันส่งมอบองค์ความรู้ทั้งในเรื่องการปลูกและการขออนุญาตให้กับวิสาหกิจชุมชนและโรงพยาบาลต่างๆ ในการขออนุญาตปลูก จนทำให้มีวิสาหกิจชุมชนที่ทำ MOU ร่วมกับโรงพยาบาลได้รับใบอนุญาตปลูก ในปี 2563 จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลลำปลายมาศ โรงพยาบาลหนองหงส์ ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรนอกกรอบเพื่อรอยยิ้มที่ยั่งยืน โรงพยาบาลละหานทราย ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์เพื่อสุขภาพละหานทราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 9 แห่ง ที่จะทำการปลูกกัญชาเป็นวัตถุดิบในการผลิตยา โดยให้โรงพยาบาลคูเมืองเป็นผู้ผลิตและส่งกลับคืนให้โรงพยาบาลนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย

ขอบคุณภาพจาก : mgronline.com

นายแพทย์กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า โรงพยาบาลคูเมือง ได้ดำเนินการและต่อยอดการผลิตกัญชาเพื่อการแพทย์ เรามีความพร้อมด้านการผลิตยาสมุนไพรและกัญชาเพื่อการแพทย์ ในช่วงระยะตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เห็นควรในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ ในทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพในการผลิตยาสมุนไพรและกัญชาเพื่อการแพทย์ ในการตั้งมาตรฐานคุณภาพการผลิตและการวิจัย เพื่อการสกัดสารตั้งต้น อย่าง CBD และ THC ทั้งในรูปแบบแผนไทย และแผนปัจจุบัน จนได้รับมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ซึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์มีโรงพยาบาลคูเมืองเพียงแห่งเดียวที่ได้รับมาตรฐาน GMP ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เราได้มีการดำเนินการต่อยอดการเป็นบุรีรัมย์โมเดล ในด้านการศึกษา เรียนรู้ และการวิจัย เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาล และวิสาหกิจฯ อื่น ที่เข้ามาศึกษาดูงานกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ ในเรื่องของกัญชาเพื่อการแพทย์ ความสำคัญหลักๆ ของการดำเนินนโยบายการนำกัญชามาใช้รักษาเพื่อการแพทย์ พร้อมการการวิจัยและการพัฒนาข้อมูลสายพันธุ์ รวมถึงกระบวนการผลิตที่ได้ได้รับค่าสารสำคัญ มากที่สุด เพื่อเป็นการต่อยอด ส่งเสริม พัฒนาวัตถุดิบ และพัฒนาสายพันธุ์กัญชาทางการแพทย์ในเราได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการปลูก โดยได้มีการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์และการปลูกให้ได้ค่าสารสำคัญ CBD ให้ได้มากที่สุด จากต้นน้ำอย่างวิสาหกิจเพลาเพลินเพื่อชุมชน

ขอบคุณภาพจาก : mgronline.com

ซึ่งในปัจจุบัน โรงพยาบาลคูเมือง เรามีความพร้อมและสามารถนำสูตรยาที่ผลิตและใช้ในการแพทย์ ทั้งแผนไทย และแผนปัจจุบัน และได้รับการอนุมัติ ทั้งหมด 12 ตำหรับ ซึ่งนำมาใช้เพื่อให้คนไข้ในการตรวจรักษา ดังนี้ ยาน้ำมันหยดใต้ลิ้น สูตร CBD , ยาน้ำมันหยดใต้ลิ้น , ยาน้ำมันหยดใต้ลิ้น สูตร THC : CBD , ยาศุขไสยาศน์ แคปซูล , ยาทำลายพระสุเมรุ แคปซูล , ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง , ยาแก้ลมแก้เส้น แคปซูล , ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง แคปซูล ,ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย แคปซูล , ยาแก้นอนไม่หลับ/แก้ไข้ผอมเหลือง แคปซูล , ยาไพสาลี แคปซูล , ยาอไภยสาลี แคปซูล

ก้าวกระโดด ของบุรีรัมย์โมเดล คือ การนำกัญชาและสมุนไพรอื่นไปใช้รักษาผู้ป่วยและเปิดคลินิกกัญชาครบทั้ง 23 โรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งทำให้มีความต้องการวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนจึงได้ปลูกทั้งกัญชาและสมุนไพรอื่น เพื่อนำมาผลิตยา อันทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อไป 

ขอบคุณภาพจาก : mgronline.com

นางสาวธนพร พรสง่ากุล นักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์เคมี ประจำวิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพร เพลาเพลินเพื่อชุมชน กล่าวว่า วิสาหกิจศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรเพลาเพลินเพื่อชุมชน ร่วมมือกับชาวบ้าน เริ่มต้นทำการปลูกกัญชาในระบบปิด เพื่อใช้เป็นฟาร์มปลูกกัญชาที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งให้กับโรงพยาบาลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มาตรฐาน GAP ในการผลิตยาจากสมุนไพรทั้งในรูปแบบแผนปัจจุบัน และแผนไทย ในช่วงของการเริ่มต้น’วิสาหกิจชุมชนเพลาเพลิน’ ปลูกกัญชาใน 2 สายพันธุ์ทั้งสายพันธุ์ไทยและต่างประเทศ โดยปลูกทั้งหมดเกือบ 230 ต้น ได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตยากัญชาส่งให้กับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วยนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ซึ่งมีกว่า 20 โรงพยาบาล

นอกจากนี้ ภายในงานครบรอบ 1 ปี “ก้าวกระโดด บุรีรัมย์โมเดล กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ” พบกับคลินิกกัญชา พร้อมตรวจวินิจฉัยและรับน้ำมันสูตร อ.เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เชี่ยวชาญการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ และเจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา ให้กับผู้ที่สนใจภายในงาน (จำนวนจำกัด) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และร่วมฟังการอภิปรายเรื่อง “ทิศทางของนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชยาเสพติด เพื่อใช้ทางการแพทย์ และเพื่อขับเคลื่อนสู่ระดับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เภสัชกร ดร.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน และอาจารย์เดชา ศิริภัทร รวมถึงรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “ปลูกอย่างไรให้ได้กัญชา” และ “แนวทางการกำกับดูแลกัญชง กับเศรษฐกิจไทย” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

ภายในงานครบรอบ 1 ปี บุรีรัมย์ โมเดล “ก้าวกระโดด บุรีรัมย์โมเดล กัญชาทางการแพทย์และสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ” พบกับคลินิกกัญชา พร้อมตรวจวินิจฉัยและรับน้ำมันสูตร อ.เดชา ศิริภัทร ผู้อำนวยการมูลนิธิขวัญข้าว ผู้เชี่ยวชาญการใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ และเจ้าของสูตรน้ำมันกัญชา ให้กับผู้ที่สนใจภายในงาน(จำนวนจำกัด) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมร่วมฟังการอภิปรายเรื่อง “ทิศทางของนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชยาเสพติด เพื่อใช้ทางการแพทย์ และเพื่อขับเคลื่อนสู่ระดับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภก.ดร.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน และอาจารย์ เดชา ศิริภัทร รวมถึงรับฟังการอภิปรายในหัวข้อ “ปลูกอย่างไรให้ได้กัญชา” และ “แนวทางการกำกับดูแลกัญชง กับเศรษฐกิจไทย” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และเชิญชมนิทรรศการจัดแสดงเรื่องราวความก้าวหน้าในการปลูก สกัดสาร และการรักษาด้วยกัญชาเพื่อการแพทย์ และการยกระดับสมุนไพร ต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ


Cann Society - Thailand